ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองลำพูน มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
ด้านการรักษาพยาบาล
ด้านการส่งเสริมสุขภาพ
ด้านการควบคุมป้องกันโรค
ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยและงานเยี่ยมบ้าน
การรักษาพยาบาล
คลินิกชุมชนอบอุ่นทำการตรวจรักษาโดยแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ และเจ้าหน้าที่อื่นๆที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังข้าร่วมในระบบการแพทย์ฉุกเฉินของจังหวัดลำพูน ให้บริการรถพยาบาลฉุกเฉิน แก่ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองลำพูน ตลอด 24 ชั่วโมง
ด้านการแพทย์แผนปัจจุบัน นอกเหนือจากการตรวจรักษาโรคทั่วไปแล้ว ยังเปิดให้บริการคลินิกพิเศษ ได้แก่ คลินิกโรคความดันโลหิตสูง คลินิกโรคเบาหวาน คลินิกเด็กดี คลินิกโรคกระดูกและข้อ ซึ่งทำการตรวจรักษาโดยแพทย์เฉพาะทาง คลินิกทันตกรรม คลินิกให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต คลินิกอดบุหรี่ คลินิกโรคหอบหืด อีกทั้งยังให้บริการฝากครรภ์
ด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทำการตรวจรักษาโดยแพทย์แผนไทย ผู้ป่วยทุกสิทธิบัตรสามารถเข้าถึงบริการได้ โดยเฉพาะผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสามารถเข้ารับบริการได้โดยไม่เสียค่ารักษาพยาบาลใดๆ ให้บริการนวดตัว นวดกดจุด นวดฝ่าเท้า ประคบสมุนไพร อบสมุนไพร การรักษาโรคด้วยยาสมุนไพร ตลอดจนการฟื้นฟูมารดาหลังคลอด เช่น การนั่งกระโจม การทับหม้อเกลือ เป็นต้น
เปิดให้บริการตั้งแต่ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 8.00 – 18.00 น. และ วันเสาร์ เวลา 9.00 – 16.00 น.
การส่งเสริมสุขภาพ
การดูแลส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ มารดาและทารกหลังคลอด เด็กก่อนวัยเรียน
การส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น
การส่งเสริมสุขภาพประชาชนทั่วไปตลอดจนผู้สูงอายุ
การส่งเสริมสุขภาพของประชาชนทั้ง 17 ชุมชน
การควบคุมป้องกันโรค
การควบคุมป้องกันโรคติดต่อ
โรคไข้เลือดออก
โรคไข้หวัดใหญ่
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19)
โรคเอดส์
โรควัณโรค
โรคคอตีบ
การควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อ
โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
โรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ
โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้าน
การควบคุมและป้องกันโรคด้วยการส่งเสริมการให้วัคซีน
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยและงานเยี่ยมบ้าน
การฟื้นฟูสมรรถภาพและงานเยี่ยมบ้านดำเนินการโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบด้วย แพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพและนักอาชีวบำบัด ออกเยี่ยมผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้พิการ ผู้ที่มีปัญหาทางด้านสติปัญญาและผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตที่ได้รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลลำพูนและจากการค้นพบเองโดยอาสาสมัครสาธารณสุขสำรวจ
เกณฑ์การเยี่ยมบ้านผู้พิการแต่ละประเภท
ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองลำพูน มีเกณฑ์การเยี่ยมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองลำพูน ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป สิทธิ UC กลุ่มติดบ้านติดเตียง ที่มีคะแนนความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (Barthel ADL Index) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 11 ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ ๑ เคลื่อนไหวได้บ้างและอาจมีปัญหาการกิน หรือการขับถ่ายแต่ไม่มีภาวะสับสนทางสมอง
กลุ่มที่ ๒ เคลื่อนไหวได้บ้าง และอาจมีปัญหาการกิน หรือการขับถ่าย แต่มีภาวะสับสนทางสมอง
กลุ่มที่ ๓ เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และอาจมีปัญหาการกินหรือการขับถ่าย หรือมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง
กลุ่มที่ ๔ เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และอาจมีปัญหาการกินหรือการขับถ่าย และมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง
โดยกำหนดจำนวนครั้งในการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยทีมหมอครอบครัว และผู้ดูแลผู้สูงอายุ(Care giver) ดังนี้
กลุ่มที่ 1 เยี่ยมโดยหมอครอบครัว เดือนละ 1 ครั้ง โดยผู้ดูแลผู้สูงอายุ เดือนละ 2 ครั้ง
กลุ่มที่ 2 เยี่ยมโดยหมอครอบครัว เดือนละ 1 ครั้ง โดยผู้ดูแลผู้สูงอายุ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
กลุ่มที่ 3 เยี่ยมโดยหมอครอบครัว เดือนละ 1 ครั้ง โดยผู้ดูแลผู้สูงอายุ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
กลุ่มที่ 4 เยี่ยมโดยหมอครอบครัว เดือนละ 2 ครั้ง โดยผู้ดูแลผู้สูงอายุ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองลำพูน แบ่งประเภทเตียงเป็น 3 ประเภทตามระดับความต้องการการดูแล ดังนี้
เตียงประเภทที่ 1 หมายถึง ครอบครัวที่มีปัญหาสุขภาพหรือเจ็บป่วยที่สามารถดูแลตัวเองได้ดี มีนักสุขภาพ ครอบครัวประจำบ้าน และมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเป็นผู้ดูแล
เตียงประเภทที่ 2 หมายถึง ครอบครัวที่มีปัญหาสุขภาพหรือเจ็บป่วยและเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนแต่ยังสามารถช่วยตัวเองได้
เตียงประเภทที่ 3 หมายถึง ครอบครัวที่มีปัญหาสุขภาพหรือเจ็บป่วยด้วยโรคซับซ้อนมีความยุ่งยากในการดูแล รพ.สต.และ.นักสุขภาพ ครอบครัว ต้องการการดูแล จากผู้อื่นเกือบทั้งหมด