ลักษณะทั่วไป
ไข้หูดับ หรือ โรคติดเชื้อสเตรฟโตคอกคัส ซอู ิส เกิดจากเชื้อ Streptococcus (S.) suis เป็นสาเหตของภาวะเยื้อหุ้มสมองอักเสบ การติดเชื้อในกระแสเลอดและการสูญเสียการได้ยิน สามารถติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยการรับประทานเนื้อสัตว์ดิบและการสัมผัสสัตว์ป่วยทําให้เชื้อเข้าทางบาดแผลตามร่างกาย หรือเข้าทางเยื่อบุตา เนื่องจากเชื้ออาศัยอยู่ในต่อมทอนซิล ทางเดินอาหาร ช่องคลอดและโพรงจมูกของหมูผู้ที่ติดเช้อจึงมักมีอาชีพเกี่ยวกับการเลี้ยงหมูทํางานในโรงงานชําแหละหมู หรือผู้สัมผัสกบสารคัดหลั่งของหมู เช่น น้ํามูก น้ําลาย และผู้ที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ผู้จําหน่าย หรือผู้ที่รับประทานเนื้อหมูดิบ หรือสุกๆดิบๆ เช่น ลาบหมูดิบ หรือหลู้ ที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ S. suis พบได้ในทุกช่วงอายุแต่โดยทั่วไปจะพบในผู้ใหญ่และพบในเพศชายสูงกว่าเพศหญิง
อาการและการก่อโรค
เชื้อ S. suis มีมากกว่า 30 ซีโรทัยป์ แต่ที่พบมากที่สุดในการก่อให้เกิดโรคในคน คือ ซีโรทัยป์ 2 โดยประเทศไทยพบประมาณร้อยละ 90-95 รองลงมาคือ ซีโรทัยป์ 14 ประมาณร้อยละ 5 นอกจากนี้ยังพบซีโรทัยป์อื่นที่ทําให้เกิดการติดเชื้อในคนไทย ได้แก่ ซีโรทัยป์ 9, 5, 24 ระยะฟักตัวของโรคประมาณ 1 - 14 วัน แต่มักมีอาการหลังรับเชื้อไม่เกิน 3 วันอาการที่พบ ได้แก่ มีไข้หนาวสั่นหอบเหนื่อย คลื่นใส้ ปวดศีรษะ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งนําไปสู่การเสียชีวิตจากภาวะ toxic shock syndrome ผู้ป่วยบางรายที่ไม่เสียชีวิตส่วนใหญ่จะพบความพิการตามมา เช่น สูญเสียการทรงตัว กล้ามเนื้ออ่อนแรง และสูญเสียการได้ยินจนถึงขั้นหูหนวกหรือที่เรียกว่าหูดับ ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตเนื่องมาจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต
ระบาดวิทยา
การรายงานผู้ป่วยติดเชื้อ S. suis เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศเดนมาร์คในปี พ .ศ .2511 หลังจากนั้นก็พบผู้ป่วยติด
เชื้อนี้จํานวนเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีการเลี้ยงหมูกันอย่างหนาแน่น ในช่วงฤดูร้อนของปี พ .ศ .2548 ได้มีการระบาดครั้งใหญ่ของการติดเชื้อ S. suis ในคนเกิดขึ้นในมณฑลเสฉวน ประเทศจีน มีผู้ป่วยติดเชื้อ จํานวน 215 ราย เสียชีวิต 38 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีประวัติการสัมผัสกับหมูหรือเนื้อหมูที่ติดเชื้อ โดยอาการของผู้ป่วยที่พบจากการระบาดครั้งนี้ได้แก่ การติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และภาวะช็อค ) streptococcal toxicshock syndrome) และ นอกจากการระบาดในครั้งนี้แล้ว ยังมีรายงานการติดเชื้อนี้ในคนอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยเองก็พบผู้ป่วยที่ติดเชื้อ S. suis เป็นจํานวนมาก และจากผลการสํารวจของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ปี 2561 ทั่วประเทศ ยังคงพบมีการติดเชื้อ S. suis ซีโรทัยป์ 2 กระจายเกือบทุกภาคโดยเฉพาะภาคเหนือ
การป้องกัน
หลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อหมูดิบ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ หมูป่วยหรือตายจากโรค การปรุงเนื้อหมูให้ปลอดภัยจากไข้หูดับคือ หากผู้ปรุงมีแผลที่ผิวหนังต้องปิดแผล และสวมถุงมือขณะปรุง เลือกซื้อเนื้อหมูจาก ตลาดสด และห้างสรรพสินค้า ซึ่งจะผ่านการตรวจเช็คมาตรฐานจากโรงฆ่าสัตว์ไม่ซื้อเนื้อหมูที่มีกลิ่นคาว สีคล้ํา เนื้อยุบ ต้มด้วยอุณหภูมิตั้งแต่ 70 องศาเซลเซียส นานอย่างน้อย 10 นาทีหรือจนน้ําต้มไม่มีสีแดง นอกจากนั้น ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับหมูที่คาดว่าจะเป็นพาหะซึ่งมักไม่แสดงอาการป่วย ควรสวมถุงมือ รองเท้าบู๊ต ในระหว่างการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับหมูตลอดจนการรักษาความสะอาดหลังสัมผัสหมู
แหล่งข้อมูล : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข