การบริโภคโซเดียมมากเกินไป มีผลเสียต่อสุขภาพ การบริโภคโซเดียมสูงเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคไต โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และอัมพาต

การบริโภคโซเดียมมากเกินไป มีผลเสียต่อสุขภาพ การบริโภคโซเดียมสูงเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคไต โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และอัมพาต

อาหารทุกอย่างมีโซเดียมตามธรรมชาติอยู่แล้ว ซึ่งหากผ่านการเติมเกลือเพื่อแปรรูป หรือถนอมอาหารก็จะทำให้ปริมาณโซเดียมในอาหารนั้นเพิ่มสูงขึ้น โซเดียมถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทั้งเป็นสารปรุงแต่งรส ยืดอายุการเก็บรักษา ทำให้อาหารเก็บไว้ได้นานขึ้น เช่น ผงฟู ผงกันบูด ผงชูรส

ตัวอย่างปริมาณโซเดียม ก่อน – หลัง แปรรูป

ไข่ต้ม ก่อนแปรรูป จะมีโซเดียมเฉลี่ย 80 มิลลิกรัม แต่หลังแปรรูปเป็นไข่เค็ม จะมีโซเดียมเฉลี่ย 380 มิลลิกรัม

ปริมาณโซเดียมในอาหารแปรรูป

แหนม 100 กรัม โซเดียม 990 มิลลิกรัม
เนื้อแดดเดียว 100 กรัม โซเดียม 1,514 มิลลิกรัม
ปลาสลิดทอด 100 กรัม โซเดียม 1,694 มิลลิกรัม
หมูแผ่น 100 กรัม โซเดียม 1,592 มิลลิกรัม
กุนเชียง 100 กรัม โซเดียม 1,303 มิลลิกรัม
ไส้กรอก 100 กรัม โซเดียม 680 มิลลิกรัม
ผักกาดดอง 100 กรัม โซเดียม 1,498 มิลลิกรัม
มะม่วงแช่อิ่ม 100 กรัม โซเดียม 504 มิลลิกรัม


ที่มา : เอกสารความรู้จากโครงการรณรงค์ลดการบริโภคโซเดียมในประเทศไทย